กระเทียม

ชื่อสมุนไพร

กระเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Allium sativum L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 17 การศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 735 คน ได้รับผงกระเทียม ขนาด 300-2,400 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2-24 สัปดาห์ พบว่า ผงกระเทียมลดความดันโลหิตได้ประมาณ 3 มิลลิเมตรปรอทเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ แต่ไม่มีผลป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

          *สูง, แนะนำให้ใช้ แต่ไม่ได้ใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษาและห้ามใช้แทนยาลดความดันโลหิต เนื่องจากกระเทียมลดความดันโลหิตได้น้อยมาก

  • งานวิจัย 14 การศึกษาในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 1,093 คน ได้รับสารสกัดกระเทียม น้ำมันกระเทียม หรือ กระเทียมดำ ขนาด 0.3-20 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ถึง 10 เดือน พบว่า มีผลลดคอเลสเตอรอล ลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ได้น้อย ประมาณ 1 มก.ต่อเดซิลิตร แต่ลดไตรกลีเซอไรด์ได้ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ แต่ห้ามใช้แทนยาลดไขมันที่แพทย์ให้ใช้ เนื่องจากกระเทียมลดไขมันในเลือดได้น้อยมาก

  • การรับประทานกระเทียมสดเพื่อหวังผลลดไขมันในเลือด ต้องรับประทาน 5-6 กรัมต่อวัน
  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 393 คน รับประทานสารสกัดกระเทียม ขนาด 300-600 มก.ต่อวัน ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด อย่างน้อย 1 เดือน พบว่า อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด

  • การศึกษาติดตามผู้ที่รับประทานกระเทียม หลายการศึกษา พบว่า อาจลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ไม่ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ และการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระเทียมอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้

          *สูง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในประชาชนทั่วไป จำนวน 146 คน รับประทานกระเทียมที่มีสารสำคัญอัลลิซิน (allicin) ขนาด 180 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า อาจช่วยป้องกันโรคหวัดได้เล็กน้อยเมื่อรับประทานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้ 

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 445,850 คน ที่รายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยตนเอง พบว่า ผู้ที่ใช้กระเทียมและไม่ใช้ มีความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดไม่แตกต่างกัน

            *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้ 

  • งานวิจัยในผู้ที่มีผมร่วงเป็นหย่อม ทั้งชายและหญิง จำนวน 40 คน ทาบริเวณที่ผมร่วงด้วยเจลกระเทียม ความเข้มข้น 5% ร่วมกับทายาสเตียรอยด์ betamethasone ความเข้มข้น 1% วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า กลุ่มที่ใช้เจลกระเทียมมีผลร่วงลดลงและผมขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างเดียว

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยหญิงโรครูมาตอยด์ มีความรุนแรงปานกลางถึงมาก จำนวน 70 คน รับประทานสารสกัดกระเทียม ขนาด 1 กรัมต่อวัน (เทียบเท่ากระเทียมสด 2.5 กรัม) ร่วมกับยาที่ใช้รักษาโรคตามมาตรฐาน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Wang HP, Yang J, Qin LQ, Yang XJ. Effect of garlic on blood pressure: A meta-analysis. J Clin Hypertens (Greenwich). 2015;17(3):223-31.
  2. Sun Y-E, Wang W, Qin J. Anti-hyperlipidemia of garlic by reducing the level of total cholesterol and low-density lipoprotein: A meta-analysis. Medicine. 2018;97(18):e0255.
  3. Banach M, Patti AM, Giglio RV, Cicero AFG, Atanasov AG, Bajraktari G, et al. The role of nutraceuticals in statin intolerant patients. J Am Coll Cardiol. 2018;72(1):96.
  4. Borrelli F, Capasso R, Izzo AA. Garlic (Allium sativum L.): adverse effects and drug interactions in humans. Mol Nutr Food Res. 2007;51(11):1386-97.
  5. Zhu B, Zou L, Qi L, Zhong R, Miao X. Allium vegetables and garlic supplements do not reduce risk of colorectal cancer, based on meta-analysis of prospective studies. Clin Gastroenterol Hepatol. 2014;12(12):1991-2001 e1-4.
  6. Hajheydari Z, Jamshidi M, Akbari J, Mohammadpour R. Combination of topical garlic gel and betamethasone valerate cream in the treatment of localized alopecia areata: a double-blind randomized controlled study. Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2007;73(1):29-32.
  7. Hou LQ, Liu YH, Zhang YY. Garlic intake lowers fasting blood glucose: meta-analysis of randomized controlled trials. Asia Pac J Clin Nutr. 2015;24(4):575-82.
  8. Zhu B, Zou L, Qi L, Zhong R, Miao X. Allium vegetables and garlic supplements do not reduce risk of colorectal cancer, based on meta-analysis of prospective studies. Clin Gastroenterol Hepatol. 2014;12(12):1991-2001 e1-4; quiz e121.
  9. Nicastro HL, Ross SA, Milner JA. Garlic and onions: Their cancer prevention properties. Cancer Prevention Research. 2015;8(3):181.
  10. Monash University Low FODMAP DietTM
  11. Moosavian SP, Paknahad Z, Habibagahi Z, Maracy M. The effects of garlic (Allium sativum) supplementation on inflammatory biomarkers, fatigue, and clinical symptoms in patients with active rheumatoid arthritis: A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Phytotherapy Research. 2020;34(11):2953-62.
  12. Drugs and Lactation Database (LactMed) [Internet]. Garlic. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); 2006.
  13. Lissiman E, Bhasale AL, Cohen M. Garlic for the common cold. Cochrane Database Syst Rev.2014;2014(11):CD006206-CD.
  14. Louca P, Murray B, Klaser K, Graham MS, Mazidi M, Leeming ER, et al. Modest effects of dietary supplements during the COVID-19 pandemic: insights from 445 850 users of the COVID-19 Symptom Study app. BMJ Nutr Prev Health. 2021;4(1):149.
  15. Sprouse AA, van Breemen RB. Pharmacokinetic Interactions between Drugs and Botanical Dietary Supplements. Drug Metabolism and Disposition. 2016;44(2):162.
  16. Lexicomp® Drug Interactions
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154601